10%
Go Back
Report Abuse
Namtok Sai Khao
Namtok Sai Khao – Plan

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว

Description

ข้อมูลจากสำนักอุทยานแห่งชาติ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว   (ปิด) (Namtok Sai Khao)

ที่ตั้งและข้อมูลทั่วไป
สถานที่ติดต่อ : อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ม.5 ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี 94120

E-mail : namtoksaikhao2020@gmail.com

โทรศัพท์ : 0 7342 0295
0 7342 0295
Facebook : อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จ.ปัตตานี - Namtok Sai Khao National Park

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ: นายศรายุทธ ปาโส
ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท

**หมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ

ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำดื่ม ขนม) เปิดให้บริการทุกวันเวลา 08.30 น. - 16.30 น.

สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่
บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE, DTAC

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ค่าพิกัด 47N UTM E731735 N736303 มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง คือปัตตานี ยะลา และสงขลา มีเนื้อที่รวม 43,482 ไร่ หรือประมาณ 69.5712 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาใหญ่ และป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ ดังนี้
ทิศเหนือ - จดตำบลช้างให้ตก ตำบลทรายขาว และตำบลนาประดู่
อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ทิศใต้ - จดตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก- จดตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และ ตำบลลำพะยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ทิศตะวันตก - จดตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และตำบลบ้านโหนด ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

ความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เดิมชาวบ้านเรียกว่า “น้ำตกกระโถน” ถูกค้นพบ โดยพระครูศรีรัตนากร (ท่านศรีแก้ว) อดีตเจ้าอาวาสวัดทรายขาว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2475 และท่านได้ชักชวนราษฎรทำการปรับปรุงบริเวณน้ำตกทรายขาว ต่อมาน้ำตกแห่งนี้ ได้พัฒนามาเป็นลำดับโดยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี (กรมป่าไม้) จนถึงปี พ.ศ. 2530 กรมป่าไม้ให้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ และจัดตั้งป่าเขาใหญ่ และป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี เพื่อเตรียมประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่อคุ้มครองทรัพยากรแห่งชาติ และวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อการศึกษาวิจัยและเพื่อการท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งมีการนำเสนอผ่านมติเห็นชอบจากคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติฯ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 อนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ การดำเนินการสำรวจจัดตั้งได้ผ่านขั้นตอนเตรียมการมาเป็นลำดับจนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติฯ โดยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งให้จัดพิมพ์แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา เพื่อจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 ได้มีราษฎรในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ชุมนุม คัดค้านการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จากลำดับเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ต้องปรับปรุงการบริหารจัดการโดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถานภาพ และ ศักยภาพของพื้นที่ วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของราษฎรในท้องถิ่น ฯลฯ เพื่อนำมาประกอบในการพิจารณา จัดทำแนวเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อราษฎร และสิ่งที่สำคัญ คือ การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จะต้องสามารถรักษาความสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งเป็นที่ยอมรับและเกิดความร่วมมือ จากประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบอุทยานแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2552 พื้นที่ป่าได้ทำการสำรวจขึ้นใหม่ ไม่มีปัญหากับราษฎร เนื่องจากได้กันพื้นที่ทำกินของราษฎรออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ที่ทำการสำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติฯ และราษฎรที่อาศัยอยู่รอบบริเวณที่ได้ตรวจสอบกำหนดเขตด้วยโดยได้ผ่านการเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่เกี่ยวข้องรวม 10 องค์การ และผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดที่เกี่ยวข้องรวม 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และสงขลา โดยผ่านการพิจารณาของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลช้างให้ตก ตำบลทรายขาว ตำบลนาประดู่ ตำบลทุ่งพลา ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และป่าเทือกเขาสันกาลาคีรี ให้ท้องที่ตำบลบ้านโหนด ตำบลเปียน ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 71 ก ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เป็น อุทยานแห่งชาติแห่งที่ 110 ของประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกโผงโผง
น้ำตกพระไม้ไผ่
น้ำตกทรายขาว
น้ำตกอรัญวาริน
น้ำตกแกแดะ

ขนาดพื้นที่
43,482.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ทข.1 (น้ำตกโผงโผง)
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ทข.2 (น้ำตกพระไม้ไผ่)
หน่วยพิทักษ์ฯที่ ทข.3 (น้ำตกแกแดะ)

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ตั้งอยู่ในพื้นที่เทือกเขาสำคัญ คือเทือกเขาสันกาลาคีรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนติดต่อกัน ทอดตัวเป็นแนวยาวแผ่ขยายออกไปทางทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออก มียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาสันกาลาคีรี (ยอดเขานางจันทร์) มีความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่บ้างส่วนเป็นที่ลาดเชิงเขาและที่ราบเนินเขา มีสันเขาเป็นแนวยาวเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดปัตตานี ยะลา และสงขลา

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศร้อน ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับพื้นที่ที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวมีความชื้นมาก จึงมีฝนตกชุกและอากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิในระดับ 25.5 ถึง 28 ปริมาณฝนตกมากที่สุด คือ เดือนพฤศจิกายน และธันวาคมของทุกปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
ชนิดของป่า และพันธุ์ไม้ต่างๆที่สำคัญที่ขึ้นอยู่กับ สภาพลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่
- ป่าดิบชื้น ขึ้นอยู่ในสภาพพื้นที่ที่ดินอุดมสมบูรณ์ทั่วไป ทั้งที่ในที่ราบเชิงเขาและภูเขา ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยาง สยา กะบาก หลุมพอ ไข่เขียว สะตอเหรียง หยี ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตาแมว มังคะ หลันตัน ส่วนไม้พื้นล่างได้แก่ ระกำ หวาย เฟิร์น เถาวัลย์ และกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
- ป่าดิบ ขึ้นอยู่ในสภาพพื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์น้อย มีเปอร์เซ็นต์ของทรายสูง ส่วนมากพบในที่ราบ ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียนต่าง ๆ ตำเสาและกะบาก เป็นต้น
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ได้แก่เลียงผา หมูป่า เก้ง เม่น กระจง ลิง ค่าง อีเห็น กระรอก เป็นต้น สัตว์ประเภทสัตว์ปีก มีนกชนิดต่างๆ เช่น นกขุนทอง นกกางเขน นกปรอดต่าง ๆ นกเหยี่ยว นกดุเหว่า ฯลฯ อาศัยอยู่ในป่าทั่วไป สัตว์น้ำ มีปูหิน ตะพาบน้ำ กุ้ง ปลาชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่ตาม ลำห้วยทั่วไป สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มี กบ เขียด ปาด คางคก คางคกภูเขา (กง) อาศัยอยู่ตามลำห้วย และที่ชื้นแฉะทั่วไป สัตว์ป่า ประเภทเลื้อยคลาน มี งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ เต่า ตะกวด กิ่งกาบิน ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าทั่วไป

การเดินทาง
การเดินทางมายังอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จากตัวอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี สามารถเดินทางมาโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 409 (ปัตตานี-ยะลา) ถึง สามแยกนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี (ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร) จากนั้น เดินทางต่อโดยใช้เส้นทาง (สายนาประดู่-ทรายขาว)เข้าสู่อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว (ระยะทาง 7 กิโลเมตร)

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
ที่พัก - ทรายขาว 102 (ดวงดาหลา)

Location

Leaflet | © OpenStreetMap contributors
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ม.5 ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี 94120

Contact Information

Address
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ม.5 ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี 94120
เบอร์โทร
อีเมลล์

There are no reviews yet.

พยากรณ์อากาศ

Camper Post/Vedio

เข้าสู่ระบบสมาชิก thecamper.me

X
หน้าแรก
หาที่ Camping
ปฎิทินงาน Camping
Blog&Vedio
เข้าสู่ระบบ
Dashboard
เพิ่ม Campsite