Go Back
Report Abuse
Lan Sang
Lan Sang – Plan 2
Lan Sang – Plan 1

อุทยานแห่งชาติลานสาง

Description

ข้อมูลจากสำนักอุทยานแห่งชาติ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติลานสาง   (เปิดบางแหล่ง) (Lan Sang)

ที่ตั้งและข้อมูลทั่วไป
สถานที่ติดต่อ : อุทยานแห่งชาติลานสาง ต.แม่ท้อ อ.เมืองตาก จ.ตาก 63000

E-mail : lansangtak14@gmail.com

โทรศัพท์ : 0 5589 4640, 086 443 3010
(สอบถามข้อมูลทั่วไปและการเปิดแหล่งท่องเที่ยวได้ที่หมายเลขนี้)

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ: นายเทวินทร์ จันทนุปาน
ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

**หมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ

ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำดื่ม ขนม) เปิดให้บริการทุกวันเวลา 08.30 น - 17.00 น.

สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่
1. บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ : AIS, DTAC, TRUE
2. บริเวณน้ำตกผาลาด, น้ำตกลานเลี้ยงม้า : AIS, DTAC, TRUE
3. บริเวณค่ายพักแรม : AIS, TRUE
4. บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว : AIS
5. บริเวณน้ำตกลานสาง : AIS
6. บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ลส.3 (ดอยผาแดง) : AIS

ตามตำนานกล่าวมา ในสมัยที่ป่าลานสางยังอุดมสมบูรณ์อย่างเต็มที่เมื่อประมาณ 200 กว่าปี สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ทรงหยุดพักพลที่บ้านระแหง แขวงเมืองตาก มีพวกมอญหนีพม่าเข้ามาสวามิภักดิ์ พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเข้าตีขับไล่พม่าซึ่งตามมอญเข้ามา ในคืนหนึ่งพระองค์ได้พลัดหลงทางออกไปจากกองทัพ ทำให้ไพร่พลทหารของพระองค์พากันออกติดตามก็ไม่พบ ประจวบกับภูมิประเทศซึ่งในสมัยนั้นเป็นป่าทึบรกชัฏ ในเวลากลางคืนเดือนมืดทำให้ยากแก่การติดตาม ทหารทุกคนก็ล้ากำลังลงจึงพากันหยุดพัก ขณะที่ทหารไทยเหล่านั้นพักอยู่ก็เกิดปาฏิหารย์ มีแสงสว่างพุ่งสู่ท้องฟ้าพร้อมกับได้ยินเสียงม้าร้องอื้ออึง ทหารที่พักอยู่นั้นต่างก็พากันรีบตรงไปหาจุดที่มี แสงสว่างนั้น พอไปถึงจึงเห็นพระเจ้าตากสินประทับม้าพระที่นั่งกลางลานนั้น มีแสงสว่างออกมาจากพระวรกาย พรั่งพร้อมไปด้วยทหารพม่าประมาณ 50 คน คุกเข่าหมอบกราบสวามิภักดิ์ยอมแพ้อยู่เบื้องหน้า ทหารไทยต่างตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปาฏิหารย์นั้น ประจวบกับเวลาฟ้าสางพอดี ต่อมาบริเวณนั้นเรียกว่า “ลานสาง”

อุทยานแห่งชาติลานสาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงามร่มรื่น เช่น น้ำตกที่งดงามหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ “น้ำตกลานสาง” เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง อุทยานแห่งชาติลานสาง มีเนื้อที่ประมาณ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร

ในปี 2498 นายประดิษฐ์ วนาพิทักษ์ ป่าไม้เขตตาก ได้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ริเริ่มจัดบริเวณน้ำตกลานสางเป็นวนอุทยานเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้กำหนดป่าลานสาง จังหวัดตาก และป่าอื่นๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ

ปี 2504 กรมป่าไม้ได้ริเริ่มดำเนินการสำรวจเบื้องต้นป่าลานสาง และในปี พ.ศ. 2505 ในโครงการแผนพัฒนาภาคเหนือได้ให้ความช่วยเหลืออีกด้วย ในขั้นแรกกรมป่าไม้ได้ประกาศป่าลานสางเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 342 (พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2511 ทั้งได้ดำเนินการจัดตั้งป่าสงวนแห่งนี้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติลานสางโดย นายสุรินทร์ อร่ามกุล ได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสืออุทยานแห่งชาติลานสางที่ กส 0708(ลส.)/พิเศษ ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 และโดยนายสมยศ สุขะพิบูลย์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ตามหนังสือ ที่ กษ 0808(ลว.)/115 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2519 ปรากฏว่ามีสภาพป่าธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งมีน้ำตกหลายแห่ง และสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดตั้งป่าลานสางเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าลานสาง ในท้องที่ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2522 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 15 ของ

สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกลานสาง
น้ำตกผาลาด
น้ำตกลานเลี้ยงม้า
น้ำตกผาผึ้ง
น้ำตกผาเท
น้ำตกห้วยท่าเล่
จุดชมทิวทัศน์ดอยผาแดง

ขนาดพื้นที่
65,000.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.1 (อุมยอม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.2 (ท่าเล่)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.3 (ดอยผาแดง)

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาถนนธงชัย ตั้งอยู่กึ่งกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สัณฐานของเทือกเขาเรียงตัวเป็นแนวยาวไปตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มียอดเขาอุมยอมเป็นยอดเขาสูงสุด สูงประมาณ 1,065 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่อุทยานแห่งชาติเกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่แบบเทือกเขามีที่ราบน้อยมาก มีความลาดชันทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มากกว่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือจุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 910 เมตร ในขณะที่จุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 210 เมตร และบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือแผ่กว้างออกไปมากกว่าบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ธรณีสัณฐานเช่นนี้ทำให้เกิดบริเวณอับฝน (Rain – shadow) ตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตอุทยานแห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีของพื้นที่อุทยานแห่งชาติลานสาง จำแนกช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงออกได้เป็น 3 ช่วงที่ปรากฏชัดเจน ในช่วงแรกเป็นช่วงเวลาการตกทับถมของตะกอน หินและดินประเภทต่างๆ ตามขอบทวีป ประมาณเวลานับเป็นพันปีขึ้นไปในมหายุค Precambrian ช่วงที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานภูมิประเทศที่สำคัญ 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกเป็นการโก่งหรือโค้งตัวของเปลือกโลกในยุค Carboniferous (ประมาณ 350 ล้านปีที่ผ่านมา) ปรากฏการณ์ชั้นหินดังกล่าวทำให้ขอบทวีปแผ่กว้างออกไปในทะเล ช่วงที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เกิดการบิดหรือหักตัวของชั้นหินที่โก่งหรือโค้งตัวนั้น ทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวตามเชิงเขา

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาเช่นนี้ ก่อให้เกิดหินชนิดต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพบว่ามีหินไนส์แผ่เป็นบริเวณกว้าง บางแห่งมีหินแปร เช่น หินอ่อน และหินปูน แทรกอยู่ในบริเวณที่มีการจัดตัวของชั้นหิน และพบหินตะกอน ประเภทหินดินดาน บริเวณใกล้ผิวดินเป็นบางแห่งอีกด้วย สามารถพบเห็นหินเหล่านี้บริเวณน้ำตกลานสาง ซึ่งมีอายุแต่ละก้อนอย่างน้อย 350 ล้านปี

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติลานสางแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม- ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 7 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติลานสางเป็นจุดนัดพบของป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาและบริเวณริมห้วยมีไม้สมพง กะบก ตะเคียนหิน เป็นพรรณไม้เด่น ป่าดิบเขา พบขึ้นเป็นหย่อมๆ บริเวณเทือกเขาสูงใกล้สันปันน้ำ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ก่อ และทะโล้ ป่าสนเขา ขึ้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร ไม้ที่พบเป็นพวกสนสองใบ อาจจะขึ้นปนอยู่กับเต็ง รัง เหียง พลวง และก่อชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ไม่รกทึบ พบ แดง ประดู่ มะค่าโมง สัก เสี้ยว เปล้า เก็ดแดง ตะคร้อ สมอ และไผ่หลายชนิด และ ป่าเต็งรัง พบบนเนินเขาสภาพพื้นที่มีหินโผล่ มีไม้เต็ง รัง และมะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้เด่น

สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เลียงผา เก้ง กวางป่า เสือไฟ หมูป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด กระต่ายป่า บ่าง และกิ้งก่าบิน เป็นที่น่าจะศึกษาชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างยิ่ง

การเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ให้เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (สายเอเชีย) ก่อนถึงจังหวัดตากประมาณ 7 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้าย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (สายเอเชีย 2 ตาก-แม่สอด) จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ให้เลี้ยวซ้ายตรงป้ายอุทยานแห่งชาติลานสาง ไปตามถนนอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลานสาง ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 430 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือ สายกรุงเทพฯ - ตาก ลงที่สถานนีขนส่งจังหวัดตาก หรือสายอื่นๆ แต่ต้องแจ้งพนักงานขับรถโดยสารหรือพนักงานเก็บค่าโดยสารว่าต้องการลงที่สถานีขนส่งจังหวัดตาก จากนั้นเดินทางต่อโดยรถตู้หรือรถบัส สายตาก - แม่สอด ให้แจ้งพนักงานขับรถโดยสารว่าต้องการไปที่อุทยานแห่งชาติลานสาง (ประมาณกิโลเมตรที่ 12) เมื่อถึงปากทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมือ ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และร้านอาหาร และเดินเท้าอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก ค่ายพักแรม และร้านอาหาร การเดินเท้าเข้าอุทยานแห่งชาติ เส้นทางสบายๆ ถนนลาดยาง ไม่ลาดชัน ระหว่างทางมีน้ำตกให้ลงเล่นน้ำได้

เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติลานสาง

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
ที่พัก - ลานสาง 104 (วนกร)
ที่พัก - ลานสาง 204/2 (อิงดอย)
ที่พัก - ลานสาง 204/3 (อิงดอย)
ที่พัก - ลานสาง 204/1 (อิงดอย)
ที่พัก - ลานสาง 205 (ขุนดง)
ที่พัก - ลานสาง 206 (เกียรติลานสาง)
ที่พัก - ลานสาง 101 (ไพรพนา)
ที่พัก - ลานสาง 932 (ค่ายเยาวชนชาย)
อื่นๆ - ลานสาง 931 (ค่ายเยาวชนหญิง)

Location

อุทยานแห่งชาติลานสาง ต.แม่ท้อ อ.เมืองตาก จ.ตาก 63000

Contact Information

Address
อุทยานแห่งชาติลานสาง ต.แม่ท้อ อ.เมืองตาก จ.ตาก 63000
เบอร์โทร
อีเมลล์

There are no reviews yet.

พยากรณ์อากาศ

Camper Post/Vedio

เข้าสู่ระบบสมาชิก thecamper.me

X