Go Back
Report Abuse
Doi Phu Kha
Doi Phu Kha
Doi Phu Kha – Plan

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

Description

ข้อมูลจากสำนักอุทยานแห่งชาติ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (เปิด) (Doi Phu Kha)

ที่ตั้งและข้อมูลทั่วไป
สถานที่ติดต่อ : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120

E-mail : doiphukha_np@hotmail.com

โทรศัพท์ : 082 194 1349

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ: นายฉัตรชัย โยธาวุธ
ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

**หมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ

ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำดื่ม ขนม) เปิดบริการทุกวันเวลา 07.30 - 18.30 น.

สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่
1. บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE
2. บริเวณจุดชมวิว 1715 : AIS, TRUE
3. บริเวณลานกางเต็นท์ (ลานดูดาว) : AIS, TRUE
4. บริเวณยอดดอยภูแว : AIS, TRUE

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 94 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2542 มีเนื้อที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ (1,704 ตร.กม) ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

ทิศเหนือ ติดต่อกับท้องที่ ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติแม่จริมท้องที่ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติขุนน่านท้องที่ ตำบลบ่อเกลือเหนือ – บ่อ เกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.ศิลาเพชร ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน

อุทยานแห่งชาติอยู่ในเขตปกครองของอำเภอต่างๆ ดังนี้
1. อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เนื้อที่ 2๖๘,๕๐๐ ไร่
2. อำเภอปัว จังหวัดน่าน เนื้อที่ 23๘,0๐๐ ไร่
3. อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เนื้อที่ 2๒๒,๐๐๐ ไร่
4. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เนื้อที่ ๑๒๒,00๐ ไร่
5. อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เนื้อที่ 116,012 ไร่
6. อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน เนื้อที่ ๙๐,๐๐๐ ไร่
7. อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เนื้อที่ ๔,๐๐0 ไร่
8. อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน เนื้อที่ ๓,๕๐๐ ไร่

สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกตาดหลวง
ยอดดอยภูแว
ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง
ถ้ำยอดวิมาน
น้ำตกภูฟ้า
ถ้ำผาฆ้อง
น้ำตกต้นตอง
ถ้ำรวยสายไท
ถ้ำผาแดง
จุดชมทิวทัศน์ 1715
ต้นชมพูภูคา

ขนาดพื้นที่
1065000.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 1 (ห้วยโก๋น)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ ภค 2 (น้ำตกแม่จริม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 3 (น้ำปูน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 4 (ขุนน้ำแนะ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 5 (ห้วยโป่ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 6 (นากอก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 7 (น้ำอวน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 8 (ภูแว)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 9 (บ้านด่าน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 10 (ดอยผาผึ้ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 11 (น้ำยาว)
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 12 (ธารเสด็จ)

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยดงหญ้าหวายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหินชั้น และหินอัคนี โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำทีอุดมสมบูรณ์
1. ลักษณะทางธรรมชาติ
1.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน พื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดใน จังหวัดน่าน โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2531) แต่ปัจจุบันยอดดอยภูคา มีความสูง 1,910 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2542) ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหิน และหินปนทราย โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย
1.1.1 ธรณีวิทยา
จากรายงานการสำรวจทางธรณีวิทยา (A.Hess and K.E. Kock 1975) พบว่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาประกอบไปด้วย หิน 2 ประเภท คือ หินชั้น หรือ หินตะกอน (Sedimentary) เป็นส่วนใหญ่ และมี หินอัคนี (Igneous Rock) บ้างเล็กน้อย
หินชั้นที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จำแนกตามอายุของหิน จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
1) หินที่มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิค (Pareozoic Era) ซึ่งประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้
- หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส ตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง (Upper Carboniferous – Lower Permain Period) มีอายุระหว่าง 345 - 230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) หินปูน (Lime Stone) หินกรวดมน (Conglomelate) หินแกรแวด (Greywaeke) และหินเชิร์ท (Chert) จะพบหินดังกล่าวนี้ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาฝั่งตะวันตกของลำน้ำว้าเป็นแนวแคบ ๆ ช่วงอำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม
- หินยุคเปอร์เมียน (Permian Period) มีอายุระหว่าง 280–230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินปูน (Lime Stone) บริเวณดังกล่าวนี้จะพบอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- หินยุคเปอร์เมียน-ไทรแอสสิค (Permian-Triassic Period) มีอายุระหว่าง 250 – 195 ปี ประกอบด้วยหินเช่นเดียวกับหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง แต่มีอายุน้อยกว่า พบหินยุคนี้เป็นบริเวณกว้างทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ ทั้งตอนบนและตอนล่างจะพบหินในยุคนี้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม
- หินที่มีอายุในยุคไทรแอสสิคตอนบนถึงยุคจูแรสสิค และครีเตเซียส (Upper Triassic-Jurassic and Cretaceous Period) จะพบหินในยุคนี้ประมาณ 195 – 18 ล้านปีประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) หินดังกล่าวนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ตามแนวเหนือ-ใต้ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอสันติสุข

2) หินที่มีอายุอยู่ในมหายุคนีโอโซอิค (Neozoic Era) ประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้
- หินยุคเทอเทียรี่ (Tertiary Period) มีอายุระหว่าง 65 ล้านปี ถึง 1 แสนปี หินที่พบในยุคนี้ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) จะพบหิน ดังกล่าวนี้เล็กน้อย ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ
- หินยุคควอเตอร์นารี (Quaternary Period) ประกอบไปด้วยตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวมีตั้งแต่ขนาดกรวดจนถึงดินเหนียว เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนร่องน้ำต่าง ๆ
- หินอัคนี (Igneous Rocks) ที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติ มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหินชั้นหรือหินตะกอน หินที่มีอายุมากที่สุดได้แก่หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่างประกอบด้วยหินทัฟ ( Tuff ) ที่มีเนื้อหินสีเข้ม นอกจากนี้ยังพบหินอัคนี ที่มีอายุอยู่ในยุคไตรแอสสิค ประกอบด้วยหินแกรนิต (Granite) หินแกรโนไดโอไรท์ (granodiorite) พบบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
1.1.2 ทรัพยากรดิน
พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 ชุดดินนี้จะพบบริเวณพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 %ในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้นหลายแห่ง มีการทำไร่เลื่อนลอยโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินจนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่ ได้แก่ชุดดินที่ลาดชันเชิงซ้อน (Sc) กลุ่มดินนี้ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร
1.1.3 ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีลำน้ำซึ่งต้นกำเนิดจากเทือกเขาสูงที่สำคัญ มีดังนี้
1) ลำน้ำว้า เกิดจากลำน้ำในเทือกเขาจอมในเขตอำเภอบ่อเกลือ ไหลผ่านอำเภอ แม่จริม แล้วไปบรรจบแม่น้ำน่าน ในเขตตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา
2) ลำน้ำกอน มีต้นน้ำเกิดจากดอยภูคา ไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบกอน อำเภอเชียงกลาง
3) ลำน้ำปัว เกิดจากธารน้ำในเทือกเขาดอยภูคา ทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอปัว แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบปัว อำเภอปัว
4) ลำน้ำยาว มีต้นกำเนิดจากประเทศลาว ไหลผ่านอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา
5) ลำน้ำย่าง มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลผ่านอำเภอปัว มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา
6) ลำน้ำอวน มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลมาบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบยาว กิ่งอำเภอภูเพียง
7) แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาขุนน้ำน่าน มีลำน้ำสาขาไหลมาบรรจบ ในเขตจังหวัดน่าน เป็นจำนวนมาก จากอำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว อำเภอเมือง อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ ในเขตอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์

ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน : ระหว่างเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม จะมีฝนตกชุก
ฤดูหนาว : ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม – มกราคม
จะมีอากาศหนาวจัด และมีอุณหภูมิต่ำสุด 2.0 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน : ระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 3 °C ฤดูร้อนเป็นช่วงสั้นๆ คือ เดือนมีนาคม - เมษายน อากาศจะเย็นสบาย

พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาหลวงพระบาง ซึ่งถือเป็นปลายสุดของเทือกเขาหิมาลัย จึงเป็นเสมือนรอยต่อของป่าเขตร้อน กับป่าเขตอบอุ่น ทำให้เป็นพื้นที่มีความหลากทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศที่หลากหลาย ในบางบริเวณก็เป็นระบบนิเวศที่เหมาะสมกับพืชเฉพาะถิ่น และพืชหายาก โดยเฉพาะเป็นแหล่งพันธุ์พืชที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ และเป็นพื้นที่แห่งเดียวในประเทศไทยที่พบต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis Hemsl) ซึ่งเป็นพืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ต้นไม้ชนิดนี้พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2532 และไม่พบในพื้นที่ใดอีกเลย จึงได้รับการตั้งชื่อต้นไม้ตามสีของดอกและถิ่นที่พบว่า “ชมพูภูคา” ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ นอกจากนี้แล้ว ยังมีพืชที่พบเฉพาะบริเวณเทือกเขาดอยภูคา เช่น เต่าร้างยักษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryota gigas Hahn ex Hodel) ก่วมภูคา (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acer wilsonii Render) จำปีช้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Magnolia citrata Noot. & Chalermglin ) อีกทั้งยังมีบริเวณ “ป่าดึกดำบรรพ์” ซึ่งเป็นที่ที่มีไม้สมัยเดียวกับการดำรงอยู่ของไดโนเสาร์ขึ้นอยู่ อาทิ เต่าร้างยักษ์ และเฟิร์นต้น หรือมหาสดำ จัดอยู่ในวงศ์ Cyatheaceae ทั้งนี้ ป่าของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีอยู่ตามหุบเขาริมน้ำลำธาร ส่วนใหญ่อยู่ตอนใต้ ตอนกลาง และตอนเหนือของพื้นที่บางส่วน มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 20.92 ของพื้นที่ พรรณไม้ที่สำคัญคือ ก่อนก (Lithocarpus echinops Bl.) ก่อลีเลียด (Quercus brandisiana Kurz.) ก่อแป้น (Castanopsis diversifolia Kurz.) ก่อหม่น (Lithocarpus elegans Hutus. ex Soep.)ก่วมภูคา (Acer wilsonii Rehder.) กำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides Hax. ex D. Don.) จำปีป่า (Michelia baillonii Finet&Gaynep) หมากเอียก (Areca triandra Becc.) เป็นต้น
2. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ตามหุบเขา มีเนื้อที่ประมาณ ร้อยละ 35.66 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ กระบก (Irvingia malayana Oliv. Ex Benn.) มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa Kurz.) ต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis Hemsl.) ปออีเก้ง (Pterocymbium tinctorium Blanco.) เป็นต้น
3. ป่าเบญจพรรณ (Evergreen forest, Deciduous forest) มีอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าดอยภูคา บริเวณที่ราบตามรอบพื้นที่ และบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 38.59 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ คือ มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa Kurz.) ประดู่ (Pterocarpus marcrocarpus Kurz.) แดง (Xylia kerrii Craib&Hutch.) ตะแบก (Lagerstroemia cochinchinensis Pierre.) เป็นต้น
4. ป่าเต็งรัง (Dry diterocarp forest) เป็นป่าที่มีอยู่บริเวณโดยรอบของพื้นที่ตามลาดเขา และบนภูเขาในพื้นที่เป็นบางจุด ป่าประเภทนี้มีอยู่น้อยมาก เนื้อที่ประมาณร้อยละ 3.10 ของพื้นที่พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง (Shorea obtuse Wall.ex Bl.) รัง (Shorea siamensis Miq.) เหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.) พลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb.) เป็นต้น
5. ป่าหญ้าและป่าหินโผล่ (Savana) มีขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ เนื้อที่ประมาณร้อยละ 1.69 ของพื้นที่
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ ได้แก่ เก้ง (Muntiacus muntjak Zimmermann.) กวางป่า (Cervus unicolor Kerr.)หมูป่า (Sus sorofa Linnaeus.) เลียงผา (Capricornis sumatraensis Bechstein.) ชะนีธรรมดา (Hylobates lar Linnaeus.) อีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hormaphroditus Pallas.) หมีควาย (Selenatos thibetanus G. Cuvier.) เป็นต้น น
สัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
๑. นกไต่ไม้สีสวย (Beautiful Nathach Sittaformosa) Family : sittddae
นกไต่ไม้สีสวยพบในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน ที่ระดับความสูงประมาณ 1,900 เมตร (MSL) พบครั้งแรก เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2546 ในอุทยานแห่งดอยภูคา และบันทึกเป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาเคยพบแค่หนเดียวที่ดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2529 (ปัจจุบันไม่พบแล้ว) ครั้งล่าสุด พบที่ยอดดอยดงหญ้าหวาย อุทยานแห่งชาติดอยภูคา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดย ดร.สะอาด อยู่เย็น

๒. เต่าปูลู (Big – headed Turtle)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Platysternon megacephalum
เต่าปูลูมีถิ่นที่อยู่อาศัยในบริเวณลำห้วย ลำธารในป่าดงดิบเขาที่มีน้ำไหลตลอดปีและมีคุณภาพน้ำที่ดี จะไม่พบทั่วไปทุกพื้นที่ในป่าดงดิบ แต่จะพบเพียงบางแห่งของพื้นที่เท่านั้น และมีจำนวนที่ไม่มากนัก เป็นสัตว์ที่อยู่ในระบบนิเวศที่เปราะบาง หากสภาพป่าธรรมชาติที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกเสียสมดุลไป คุณภาพน้ำในแหล่งที่อยู่อาศัย เสื่อมสภาพลง ปริมาณน้ำลดลงและที่สำคัญแหล่งอาหารธรรมชาติ จำพวกหอย ปูหมดไปก็จะทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และสูญพันธุ์ไปในที่สุด
สถานภาพ : หายากและใกล้สูญพันธุ์

การเดินทาง
การคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร
เส้นทางคมนาคม
-จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 มาจนถึงจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 มาจนถึงจังหวัดพิษณุโลกและใช้ทางหลวงหมายเลข 11 โดยจะผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่) จากเด่นชัยใช้ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านจังหวัดแพร่ไปจนถึงตัวจังหวัดน่าน รวมระยะทางประมาณ 668 กิโลเมตร
-รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง) ไปลงที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ แล้วจึงต่อรถโดยสารประจำทางมาที่จังหวัดน่าน ระยะทาง 142 กิโลเมตร
- ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ถึง อุทยานแห่งชาติ 753 กิโลเมตร
- ระยะทางจากจังหวัดน่าน โดยรถยนต์ไปตามทางหลวง 1080 ถึง อำเภอปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตร แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว – บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ - ดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
- ห้องน้ำ - ห้องสุขา หญิง
ร้านอาหาร - ร้านอาหาร
ที่พัก - ภูคา 109 - 124 (บ้านเกวียน 1-16)
ที่พัก - ภูคา 106/1 - 106/4 (จำปีช้าง)
ที่พัก - ภูคา 105/1 - 105/4 (นางพญาเสือโคร่ง)
ที่พัก - ภูคา 104/1 - 104/4 (เสี้ยวดอกขาว)
ที่พัก - ภูคา 102 (ก่วมภูคา)
ที่พัก - ภูคา 107/1 - 107/4 (คัดเค้าภูคา)
อื่นๆ - อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านค้า - ร้านสวัสดิการ
ห้องน้ำ - ห้องน้ำ - ห้องสุขา ชาย

Location

อุทยานแห่งชาติดอยภูคาตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120

Contact Information

Address
อุทยานแห่งชาติดอยภูคาตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
เบอร์โทร
อีเมลล์

There are no reviews yet.

พยากรณ์อากาศ

Camper Post/Vedio

เข้าสู่ระบบสมาชิก thecamper.me

X