อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
Description
ข้อมูลจากสำนักอุทยานแห่งชาติ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า (เปิด) (Phu Hin Rong Kla)
ที่ตั้งและข้อมูลทั่วไป
สถานที่ติดต่อ : อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตู้ ปณ. 3 อ.นครไทย จ.พิษณุโลก 65120
E-mail : phuh-055@hotmail.co.th
โทรศัพท์ : 081 596 5977
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ: สิบตำรวจโทกุลบล พลวัน
ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 500 บาท เด็ก 300 บาท
**หมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ
ร้านค้าสวัสดิการ
เปิดให้บริการทุกวันเวลา 06.00 น. - 18.00 น. (อยู่ใกล้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว)
สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่
บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE, DTAC
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีพื้นที่ครอบคลุมรอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การ สู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ทำให้เกิดความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 191,875 ไร่ หรือ 307 ตารางกิโลเมตร
ในปี พ.ศ. 2511-2525 เทือกเขาหินร่องกล้านี้เคยเป็นฐานที่มั่นใหญ่ในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นผลเกิดปัญหาความมั่นคงทางการเมืองขึ้น ในกลางปี พ.ศ. 2515 ทางราชการทหารจึงได้เปิดยุทธการภูขวาง โดยจัดกองพลผสมจากกองทัพภาคที่ 1, 2, 3 กรมการบินศูนย์สงครามพิเศษทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เข้าปฏิบัติเพื่อยึดภูหินร่องกล้า ทว่าไม่สำเร็จเพราะสภาพพื้นที่ไม่อำนวยเนื่องจากภูหินร่องกล้าตั้งอยู่กลางเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นป่ารกทึบ
ต่อมากองบัญชาการทหารบก ได้เปลี่ยนแผนยุทธการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยใช้นโยบายที่ 66/2523 และคำสั่งที่ 65/2525 กองทัพภาคที่ 3 และทหารหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 3 (พตท. 33) ซึ่งนำโดย พันเอกไพโรจน์ จันทร์อุไร ผู้อำนวยการ พตท.33 ได้นำนโยบายใหม่นี้เข้าปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะ โดยไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่น้อย บรรดาชาวบ้านและมวลชนของ ผกค. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขา เผ่าม้ง (แม้ว) ได้กลับใจไม่ให้ความร่วมมือกับ ผกค. และเข้ามอบตัวกับทางราชการส่วนแกนนำได้ละทิ้งฐานที่มั่นไป จากนั้น พตท. 33 จึงได้เริ่มพัฒนาพื้นที่แห่งนี้โดยการตัดถนนผ่านใจกลางภูหินร่องกล้า ต่อมา พตท. 33 ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ สร 4001(301)/324 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526 ให้กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พิจารณาร่วมและประสานกับกรมป่าไม้เพื่อพิจารณา จัดตั้งบริเวณภูหินร่องกล้าเป็นอุทยานแห่งชาติเป็นพื้นที่ๆ สภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารและมีลักษณะทางธรรมชาติ ที่เป็นจุดเด่นหลายแห่ง เช่น ลานหินแตก ลานหินปุ่ม ประกอบกับเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบระหว่างกองทัพแห่งชาติกับคอมมิวนิสต์ มีความเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เป็นผลให้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1 /2526 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็น สมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูหินร่องกล้าให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด บริเวณป่าภูหินร่องกล้าท้องที่ตำบลบ่อโพธิ์ ตำบลเนินเพิ่ม ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และตำบลกกสะท้อน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 96 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 48 ของประเทศ
สถานที่ท่องเที่ยว
ภูแผงม้า
น้ำตกร่มเกล้า-ภราดร
น้ำตกหมันแดง
ผาชูธง
ลานหินแตก
ลานหินปุ่ม
กังหันน้ำ
ภูลมโล
โรงเรียนการเมืองการทหาร
สำนักอำนาจรัฐ
น้ำตกห้วยขมิ้นน้อย
สะพานมรณะ
ที่หลบภัยทางอากาศ
ขนาดพื้นที่
191,875.00 ไร่
หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภรก.1 (น้ำไซ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภรก.2 (ทับเบิก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภรก.3 (หมากแข้ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภรก.4 (โคกกลาง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภรก.5 (แก่งลาด)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภรก.6 (ตูบค้อ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภรก.7 (หมันแดง)
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาคือภูลมโล โดยสูงประมาณ 1,664 เมตร จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ
ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่างๆ
ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่
นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิน ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสันงดงาม
ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวางป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่างๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น
การเดินทาง
รถยนต์
อุทยานแห่งชาติภุหินร่องกล้า ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 500 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 6 ชั่วโมง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 120 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ระยะทาง 130 กิโลเมตร ถึงตัวเมืองพิษณุโลก จากตัวเมืองพิษณุโลก เส้นทางที่สะดวกที่สุด คือใช้ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 12 สายพิษณุโลก - หล่มสัก จากนั้นแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2013 ไปทางอำเภอนครไทย ก่อนถึงตัวอำเภอนครไทย มีทางแยกขวามือตามทางหลวงหมายเลข 2331 มุ่งหน้าสู่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า สภาพเส้นทางสูงชัน และคดเคี้ยวเป็นบางช่วง
สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
ร้านอาหาร - ร้านอาหาร
ที่พัก - ร่องกล้า 205/2 (ช้างงาเดียว)
ที่พัก - ร่องกล้า 206/1 (ลิ้นมังกร)
ที่พัก - ร่องกล้า 206/2 (ลิ้นมังกร)
ที่พัก - ร่องกล้า 931 (ค่ายเยาวชนหญิง)
ที่พัก - ร่องกล้า 932 (ค่ายเยาวชนชาย)
ที่พัก - ร่องกล้า 933 (ค่ายเยาวชน)
ที่พัก - ร่องกล้า 934 (ค่ายเยาวชน)
ที่พัก - ร่องกล้า 935 (ค่ายเยาวชน)
ที่พัก - ร่องกล้า 936 (ค่ายเยาวชน)
ที่พัก - เต็นท์เล็ก
ที่พัก - เต็นท์ใหญ่
ที่พัก - ลานกางเต็นท์
ที่พัก - ร่องกล้า 205/1 (ช้างงาเดียว)
ที่พัก - ร่องกล้า 204/2 (ตาเหินไหว)
ที่พัก - ร่องกล้า 204/1 (ตาเหินไหว)
ที่พัก - ร่องกล้า 102 (ปีกไม้)
ที่พัก - ร่องกล้า 103 (ไผ่ลาย)
ที่พัก - ร่องกล้า 104 (ทิวเขา)
ที่พัก - ร่องกล้า 105 (ขอบฟ้า)
ที่พัก - ร่องกล้า 108/1-4 (เชิงดอย)
ที่พัก - ร่องกล้า 109 (หมันแดง)
ที่พัก - ร่องกล้า 110 (กล้าสู้)
ที่พัก - ร่องกล้า 202/2 (มณฑาดอย)
ที่พัก - ร่องกล้า 202/1 (มณฑาดอย)
ที่พัก - ร่องกล้า 201/2 (ปาหนัน)
ที่พัก - ร่องกล้า 201/1 (ปาหนัน)
ที่พัก - ร่องกล้า 101 (ร่องกล้า)
อื่นๆ - ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านค้า - ร้านสวัสดิการอุทยานฯ
ห้องประชุมสัมมนา - ห้องประชุม
ห้องน้ำ - ห้องน้ำสาธารณะ
ถังขยะ - ร่องกล้า 111 (ภูหมันขาว)
Location
Contact Information
Review
Login to Write Your ReviewThere are no reviews yet.